ยอดขายทุกลังสมทบศิริราชมูลนิธิ

ณ เมษายน 2568

ยอดสินค้าที่จำหน่าย
50000 ลัง
ยอดสมทบ
0 บาท
5 บาทจากทุกลังที่มีลูกค้าซื้อโอยาโกโกะและที่พวกเราร่วมกันทำงานมาตลอดสี่ปีค่ะ เป็นประโยชน์กับศิริราชมูลนิธิและการช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ค่ะ 🙏🙏🙏

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ร้านค้าออนไลน์

ผ้าอ้อมผู้ใหญ่สำเร็จรูปชนิดเทป เหมาะกับผู้ป่วยที่ติดเตียง ที่ไม่สามารถลุกเดินได้สะดวก ใส่ได้ง่ายในท่านอน สั่งซื้อในช่องทางเหล่านี้ง่ายๆ เพียง "" คลิก ""

การมีอายุมากขึ้นหรือมีการผ่าตัดบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในการคลอดบุตร เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน การตรวจ Urodynamic นี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่า มีปัญหาที่กล้ามเนื้ออุ้มเชิงกรานหย่อนหรือกล้ามเนื้อหูรูดไม่แข็งแรงกันแน่

Source: https://www.phyathai.com/th/article/4036-พบปัญหาที่แท้จริง

สำหรับเด็กๆ หากมีปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเรื่องของระบบประสาทร่วมด้วย ซึ่งในรายที่มีความผิดปกติทางระบบอื่นๆ และมีปัญหาทั้งระบบปัสสาวะกับอุจจาระผิดปกติร่วมด้วย ซึงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหางออก

Source: https://www.phyathai.com/th/article/4036-พบปัญหาที่แท้จริง

ผู้ป่วยที่ปัสสาวะเป็นเลือดหรือปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ แสดงว่ามีเลือดออกมาปนกับปัสสาวะ เลือดอาจจะออกมาจากไตทางกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะก็ได้

สาเหตุที่มีเลือดออกมาทางปัสสาวะนี้มีหลายสาเหตุ อาจจะเกิดจากไตอักเสบ นิ่วที่ไต เนื้องอกหรือมะเร็งของไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือท่อปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยที่มีเลือดในปัสสาวะ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง

Source: https://www.praram9.com/คำถามยอดนิยมของโรคไต/

ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะสีน้ำตาลเข้มคล้ายสีน้ำปลา มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการไตอักเสบฉับพลัน โดยเกิดจากการที่มีเลือดออกมาจากไตและต่อมาถูกแปรสภาพโดยปฏิกิริยาเคมีบางอย่างทำให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผู้ป่วยที่มีตับอักเสบหรือผู้ป่วยโรคตับบางชนิดที่มีอาการตัวเหลือง ก็อาจจะมีปัสสาวะสีน้ำตาลเข้มคล้ายกับผู้ป่วยโรคไตอักเสบ ผู้ป่วยเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็ว

Source: https://www.praram9.com/คำถามยอดนิยมของโรคไต/

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Escherichia coli (E. coli) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยแบคทีเรียจะเข้าไปทางท่อปัสสาวะและทำลายเนื้อเยื่อภายในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสามารถเกิดได้จากการสัมผัสเชื้อโรคจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ใช้ห้องน้ำที่ไม่สะอาด และยังมีประเภทโรคกระเพาะปัสสาวะแบบไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยาคีโม การฉายรังสี การใส่สายสวนปัสสาวะ การใช้สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น

Source: https://www.kasikornbank.com/th/personal/insure/article/pages/symptoms-of-cystitis.aspx

สาระความรู้

ข่าวสารและกิจกรรม

สั่งซื้อสินค้า